ถ้าเกิดเหตุอุบัติเหตุรถชนต้องทำอย่างไร

22362 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถ้าเกิดเหตุอุบัติเหตุรถชนต้องทำอย่างไร

การเตรียมการ การแจ้งเหตุและบันทึกข้อมูลคู่กรณี เมื่อเกิด อุบัติเหตุ

1. การแจ้งเกิดอุบัติเหตุ

  • กรณีเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุของบริษัทประกันภัยทันทีที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ข้อมูลที่ควรเตรียมไว้แจ้งอุบัติเหตุ ได้แก่ ชื่อผู้ขับขี่ ทะเบียน ยี่ห้อ รุ่น สี โทรศัพท์ติดต่อ ลักษณะการเกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและจุดสังเกต (กรณีมีการเคลื่อนย้ายรถหรือสถานที่นัดหมายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที)
  • ควรสอบถามชื่อผู้รับแจ้งอุบัติเหตุ และชื่อเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุ

2. ณ จุดเกิดอุบัติเหตุ
  • ห้ามแยกรถออกจากกันโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจขีดเส้น หรือจนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทจะไปถึงที่เกิดเหตุ
  • ห้ามตกลงค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น และอย่ายอมรับผิด หากไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดผิด ให้รอจนกว่าพนักงานจะไปถึงที่เกิดเหตุ
  • หากคู่กรณีแสดงอาการพิรุธหรืออาจจะหนี ให้รีบจดรายละเอียดผู้ขับขี่รถคู่กรณี เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่ทำงาน โทรศัพท์ และรายละเอียดรถคู่กรณี เช่น ความเสียหาย ยี่ห้อ สี ทะเบียน ไว้ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานจะ
    ไปถึงที่เกิดเหตุ
  • กรณีเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี ให้รีบจดรายละเอียดรถคู่กรณี เช่น ความเสียหาย ยี่ห้อ สี ทะเบียน ให้ละเอียดที่สุด แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • กรณีเฉี่ยวชนหลายคัน หากรถคู่กรณีคันใดขอแยกย้ายไปก่อนให้จดรายละเอียดผู้ขับขี่ และรถคู่กรณีรวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์
  • กรณีรถตกลงไปในน้ำ และไม่สะดวกในการติดต่อบริษัทประกันภัย ให้นำรถขึ้นจากน้ำโดยเร็วที่สุด และห้ามสตาร์ทเครื่องเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องมากขึ้น

6.กรณี ที่คุณอาจต้องเจอเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

1. กรณีเป็นฝ่ายถูก

  • ควรให้คู่กรณียอมรับผิดโดยการลงชื่อในใบคำขอยอมรับผิดเสียก่อน แล้วจึงเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
  • ควรจดทะเบียนรถคู่กรณี ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ของผู้ขับขี่ และเจ้าของรถยนต์ในกรณี ที่เจ้าของรถยนต์ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่เอง
  • ควรจดชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
  • แจ้งบริษัทประกันภัย เพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย
  • หากเป็นการประกันประเภท 3 (คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลภายนอก) บริษัทประกันภัย จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสถานที่เกิดเหตุหรือสถานีตำรวจ (หากมีความจำเป็น)

 

2. กรณีเป็นฝ่ายผิด

  • ให้เขียนชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ให้แก่คู่กรณี
  • เคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
  • แจ้งบริษัทประกันภัย ทันทีเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย

3. กรณีไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด

  • แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดอุบัติเหตุ
  • รอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและทำเครื่องหมายบริเวณอุบัติเหตุ แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
  • ไม่ควรลงชื่อในเอกสารใด ๆ กับคู่กรณี
  • แจ้งบริษัทประกันภัย ทันทีเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุ และสภาพความเสียหาย

 

4. กรณีรถทำประกันชั้น 1 ทั้ง 2 ฝ่าย สัญญาสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน (Knock for Knock)

  • ต้องเป็นการประกันภัยรถยนต์สี่ล้อประเภท 1 เท่านั้น (ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุก)
  • ตรวจดูรายละเอียดใบเคลม (ใบเหลือง) ว่าตรงกับรถคู่กรณีหรือไม่ และหมดอายุหรือไม่
  • กรณีตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ให้ลงชื่อในเอกสาร โดยฝ่ายถูกลงชื่อที่ช่องฝ่ายถูก ฝ่ายผิดลงชื่อที่ช่องฝ่ายผิด จากนั้นแลกเปลี่ยนเอกสาร และเคลื่อนย้ายรถ ไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • กรณีตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำเครื่องหมาย แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ หรือแจ้งบริษัทประกันภัย เพื่อทำการสำรวจอุบัติเหต ุและสภาพความเสียหาย
  • ขอรับเอกสารใบเหลืองใหม่ได้จากบริษัทประกันภัย

 

5. กรณีมีใครได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ

  • ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน จากนั้นแจ้งบริษัททันที
  • แสดงหลักฐานให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่ามีประกัน พ.ร.บ.
  • อย่าตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย
  • แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีเรื่องถึงสถานีตำรวจ
    คู่กรณีเสียชีวิต
  • ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและแจ้งบ.ประกันภัยทันที
  • ท่านต้องรับผิดทางอาญา ส่วนทางแพ่งบริษัทประกันภัย จะเข้าร่วมเจรจาและให้คำปรึกษา
  • พร้อมทั้งรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยในการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี

 

6. กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหนี ให้จดจำทะเบียน ยี่ห้อ รุ่น สี และแจ้งสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุข้อกฎหมายที่ควรทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

  • กรณีที่ท่านเป็นฝ่ายผิดท่านต้องรับผิดทางอาญา ส่วนทางแพ่งบ.ประกันภัย จะรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
  • หากท่านถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ และได้ซื้อความคุ้มครองประกันตัวผู้ขับขี่ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัย เพื่อนำหลักทรัพย์มาขอประกันตัวตามวงเงิน ที่ได้ซื้อความคุ้มครอง
  • พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวท่านไว้ หากไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือตาย
  • หากเกิดอุบัติเหตุแล้วหลบหนี ตามกฎหมายจะสันนิษฐานว่าท่านเป็นฝ่ายผิด

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้